หลวงปู่เสาร์
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว
วัดป่าหินเกิ้งวิปัสสนา
บ้านวังหว้า ตำบลบ้านแฮด
จังหวัดขอนแก่น
บ้านวังหว้า ตำบลบ้านแฮด
จังหวัดขอนแก่น
คำนำ
ผู้โพสต์ได้อ่านและเห็นความสำคัญจากเรื่องเล่าและธรรม ของหลวงปู่ จึงได้นำมาแบ่งบันโดยย่อไว้ ณ ที่นี้ เพื่อ ประโยชน์ของ ท่านผู้สนใจในปฏิปทาของ พ่อแม่ ครูอาจารย์สวยพระป่า สืบไป
ชีวประวัติ
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เป็นพระผู้มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใสและกราบไหว้อีกรูปหนึ่ง ท่านเป็นศิษย์ของ หลวงปู่เสาร์ และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐาน
หลวงปู่ ท่านเป็นชาวจังหวัด มหาสารคาม โยมบิดาชื่อ นายหุ่น โยมมารดาชื่อ บุตร นามสกุล ฌานชำนิ เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน 1) ปีระกา พุทธศักราช 2463 ที่บ้านโนนสี หมู่ที่ 12 ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัด มหาสารคาม
หลวงปู่มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน โดยท่านเป็นคนสุดท้อง
ส่วนพี่น้องมาดังนี้
๑ นายอ่อนสี
๒ นางแตงอ่อน
๓ นายบุญตา
๔ นายทองอิน
๕ นางปทุมา
๖ คึออาตมา ชื่อ จันทร์ดี
หลวงปูเล่าว่า "ในวันที่อาตมาจะเกิดนั้น โยมแม่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ลำพัง ขณะเกี่ยวอยู่นั้นรู้สึกเจ็บท้องจี๊ดๆ ไม่นานก็คลอดอาตมาออกมา ไม่มีใครอยู่ด้วย โยมแม่ต้องฃ่วยตัวเอง จนอาตมาคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัย จากนั้นโยมแม่ก็อุ้มอาตมากลับบ้าน แล้วเลี้ยงดูจนกระทั่งเติบโต"
ยอมเสียสละเพื่อแม่
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าถึงชีวิตในปฐมวัยว่า ท่านมีความลำบากมาก เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองของบ้านเมือง คือปี พ.ศ. 2475 พร้อมกับโรคระบาดเกิดนั้นในทั่วท้องถิ่นในย่านบ้านเกิดของท่าน คือ บ้านโนนสี บ้านโนนพิบาล บ้านนาครู บ้านโพนละออม และบ้านหนองแวก ฝนฟ้าแห้งแล้งไม่ตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าในท้องนาไม่ผลิดอกออกผล ด้วยความอดอยาก ชาวบ้านจึงได้พากันอพยพไปอยู่บ้านสำนัก ตำบลโนนตุ่น อำเภอกุดข้าว จังหวัดขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นตำบลหนองแปน อยู่ในอำเภอมัญจาคีรี
ปีนั้นพี่ชายคนโตของอาตมา คือนายอ่อนสีได้รับราชการเป็นทหารยศสิบตรี เป็นคนใกล้ชิดหม่อมเจ้าวรเดช เมื่อบ้านเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หม่อมเจ้าวรเดชเข้าไปเกี่ยวของโดยเป็นกบฏต่อฝายที่เปลี่ยนแปลงการปกครองและพ่ายแพ้จึงถูกจับ คนใกล้ชิดท่านก็พลอยถูกจับตัวไปด้วย สิบตรีอ่อนสี พี่ชายของอาตมาก็เป็นหนึ่งในจำนวนผู้ใกล้ชิดที่ถูกจับนั้น กบฏที่ถูกจับทุกคนถูกนำตัวไปขังคุก เมื่อโยมแม่ได้ทราบเรื่องพี่ชายติดคุก ก็เสียใจมากร้องห่มร้องไห้เป็นการใหญ่ ซึ่งก็เป็นธรรมดาของแม่ทุกคนที่รักลูกเป็นห่วงลูก
โยมแม่ของอาตมาก็เหมือนกับโยมพ่อ คือเป็นคนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อมองไม่เห็นทางอื่นที่จะช่วยเหลือพี่ชายได้ก็หันเข้าหาพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่ง โดยท่านเชื่อว่าหากให้อาตมาบวช บำเพ็ญศีล ภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ ส่งกระแสจิตช่วยเหลือพี่ชาย ก็จะทำให้พี่ชายพ้นจากการติดคุกได้
ขณะนั้นอาตมาอายุได้ 12 ปี เมื่อได้ฟังข้อเสนอของโยมแม่ก็รู้สึกพอใจ มองเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ดีทำตามได้ไม่ยาก โยมแม่เมื่อเห็นอาตมาตกลงใจก็ไม่รอช้า รีบพาไปบวชเณรที่วัดโพธิ์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม ตรงกับปี พ.ศ. 2475 โดยมีพระครู วินัยธรมุ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วได้มาอยู่ที่วัดกลาง อำเภอโกสุมพิสัย เพราะช่วงนั้นโยมแม่ได้อพยพครอบครับไปอยู่ที่บ้านโนนสำนัก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น จึงติดตามท่านมาอยู่ด้วย
หลวงปู่จันทร์ดีได้จำพรรษาอยู่ที่วัดกลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2576 ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับครูอาจารย์หลายท่าน สอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปี พ.ศ 2479
และสอบนักธรรมชั้นโท ได้ในปี พ.ศ 2481
"ขณะที่เรียนนักธรรมอยู่นั้น อาตมาได้เรียนบาลีควบคู่ไปด้วย สมัครเข้าสอบเป็นมหาเปรียนญกับเขาในปี พ.ศ. 2482 แต่สอบไม่ได้ แต่ก็ไม่ละความพยายาม จึงสอบบาลีเป็นมหากับเขาได้เมื่อปี พ.ศ. 2485"
หลวงปู่ได้เล่าถึงการเรียนบาลี เพื่อสอบเป็นมหานั้นว่ามีความลำบากมาก ขระที่เรียนนักธรรมตรี-โท-เอก ท่านก็เรียนบาลีควบคู่ไปด้วย และท่านสอบได้โดยไม่ซ้ำชั้น ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นพระฝายมหานิกายอยู่ จนกระทั่งท่านสอบบาลีประโยค 1-2ได้ท่านจึงหันมาปฏิบัติธรรมเป็นพระฝายธรรมยุต ด้วยสาเหตุของความอยากรู้อยากเห็นในโลกกว้าง และอยากจาริกโปรดสัตว์ บำเพ็ญเพียรและแสวงหาความวิเวกแห่งโมกธรรม
เรียนกรรมฐาน กับบูรพาจารย์ใหญ่
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าว่าช่วงนั้นเป็นปี พ.ศ. 2480 เป็นระยะออกพรรษาเพียงหนึ่งอาทิตย์ หลังจากได้เรียนกรรมฐานจาก หลวงปู่มั่น และ หลวงปู่เสาร์แล้ว ท่านรต้องการฝึกของจริง คือการออกธุดงค์กับครูบาอาจารย์บ้าง
ต่อมา ท่านจึงได้มีโอกาสติดตามพระอาจารย์ทั้ง 5 เดินธุดงค์ไปยังภูเขาควาย ฝั่งประเทศลาว พระอาจารย์ทั้ง 5 องค์นั้นได้แก่
พระอาจารย์วรรณา แห่งวัดเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์สมบูรณ์ แห่งวัดกุดเชือก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์โพธิ แห่งวัดบ้านดอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์สิงห์ แห่งวัดบ้านเกาะ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์แก้ว แห่งวัดบ้านไฝ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัด อุบลราชธานี
ซึ่งพระอาจารย์ทั้งหมดนี้ ต่างเคารพนับถือกันมาก
พระอาจารย์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ทุกองค์ล้วนแต่มีพรรษาที่ 15-16 ทั้งนั้น แต่ละองค์มีความรอบรู้ทั้งทางธรรมและทางเวทมนต์คาถา พร้อมทั้งยาสมุนไพรเป็นเลิศ เพราะเพราะพระธุดงค์ก่อนที่จะธุดงค์เดี่ยวได้นั้น จะต้องมีพระพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ในการธุดงค์มาก่อน เพื่อชี้แนะสั่งสอน ตลอดจนประสบการณ์ความชำนาญเกี่ยวกับสมุนไพรโบราณเป็นเรื่องแรก
เพราะนอกจากจะรักษาตัวเองในคราวเจ็บป่วย ยังสามารถโปรดสัตว์และผู้ยากไร้ ซึ่งสมัยก่อนชาวบ้านตามชนบท ยังไม่มีหยูกยารักษากัน เมื่อถึงคราวเจ็บป่วยต้องอาศัยพระธุดงค์เป็นส่วนมาก
ดังนั้น การเดินธุดงค์ของพระทุกองค์ในยุคนั้น พระธรรมวินัยต้องเคร่ง และต้องมีความรอบรู้ครอบถ้วนในการธุดงค์ เพราะไหนจะเผชิญกับสัตวร้ายต่างๆ ในป่า ไหนจะต้องเผชิญกับไข้ป่านานาสารพัด หลวงปู่ท่านกล่าว
เดินธุดงค์ไปฝั่งลาว
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าต่อไปว่า เมื่อทุกฝ่ายตกลงกันได้แล้ว จึงออกเดินทางจากวัดบ้านไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี จุดมุ่งหมายของอาจารย์ทั้งหลาย นอกจากเพื่อเป็นการธุดงค์แล้ว ก็ยังต้องการแสวงหาเหล็กไหลไปด้วย
"คณะของอาตมาข้ามไปยังฝั่งลาว เดินทางไปประเทศลาวครั้งนี้ลำบากมาก พระอาจารย์ทั้ง 5 ได้พาอาตมา เดินธุดงค์ผ่านไปยังบ้านนาแห้ว พระบาทโพนสัน วกไปวกมาจนถึงเมืองเวียงจันทน์ จากเวียงจันทน์ก็ไปทางหลวงพระบาง เชีบงขวาง พงสาลี ผ่านทุ่งไหหิน จนกระทั่งถึงบ้านหัวดง"
บ้านหัวดงหรือบ้านดงน้อยแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านที่อยู่เชิงภูเขาควาย มีบ้านคนอยู่เพียง 7-8 หลังคาเรือนเท่านั้น ชาวบ้านมีอาชีพทำนาและหาของป่าขาย
เวลานั้นอยู่ในฃ่วงหน้าแล้ง คณะของอาตมาได้หยุดพักอยู่ใกล้ๆหมู่บ้านนั้น พอตกเย็นได้มีนายน้อยและนายตา ซึ่งเป็นคนที่อาวุโสที่สุดในหมู่บ้านดงน้อย ได้เข้ามา นมัสการและประเคนปัจจัยต่างๆที่จำเป็นสำหรับพระธุดงค์ จากนั้นก็นั่งสนทนาและสอบถาม ถึงการเดินทางต่อไปของพระธุดงค์ พระอาจารย์ก็ตอบว่า "จะเดินขึ้นภูเขาควาย"
ภูเขาควาย สปป ลาว
มีอยู่ตอนหนึ่ง นายน้อย ได้พูดพาดพิงไปถึงเหล้กไหลว่ามีจริงและ นายตา ก็ยืนยันว่าไปเห็นมาหลายคนแล้ว แต่ไม่มีใครไปเอามาได้และคนที่ไปเอาส่วนมากจะเสียชีวิตหมด
ปรากฏว่า พระอาจารย์สมบูรณ์ ท่านเกิดมีความสนใจขึ้นมา จึงได้สอบถามนายน้อยว่า "เหล็กไหลที่ว่านี้ อยู่ที่ถ้ำสระบัว ในภูเขาควาย ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 10 กิโล"
ทางด้าน พระอาจารย์วรรณา พระอาจารย์โพธิ์ พระอาจารย์สิงห์ (คนละท่านกับพระอาจารย์ สิงห์ ขันตยาคโม) ได้ปรึกษากันหารือว่าสมควรไปดูเหล็กไหลหรือไม่ ซึ่กทุกรูปต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า จะเดินไปดูพรุ่งนี้เช้า ส่วยนายน้อยและนายตา ได้พยายามห้ามปราม เพราะกลัวพระธุดงค์จะเป็นอันตราย
ผู้โพสต์ได้อ่านและเห็นความสำคัญจากเรื่องเล่าและธรรม ของหลวงปู่ จึงได้นำมาแบ่งบันโดยย่อไว้ ณ ที่นี้ เพื่อ ประโยชน์ของ ท่านผู้สนใจในปฏิปทาของ พ่อแม่ ครูอาจารย์สวยพระป่า สืบไป
ชีวประวัติ
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เป็นพระผู้มีปฏิปทาที่น่าเลื่อมใสและกราบไหว้อีกรูปหนึ่ง ท่านเป็นศิษย์ของ หลวงปู่เสาร์ และ หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต พระอาจารย์ใหญ่สายวิปัสสนากรรมฐาน
หลวงปู่ ท่านเป็นชาวจังหวัด มหาสารคาม โยมบิดาชื่อ นายหุ่น โยมมารดาชื่อ บุตร นามสกุล ฌานชำนิ เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 15 ค่ำ เดือนอ้าย (เดือน 1) ปีระกา พุทธศักราช 2463 ที่บ้านโนนสี หมู่ที่ 12 ตำบลหนองกุง อำเภอเมือง จังหวัด มหาสารคาม
หลวงปู่มีพี่น้องด้วยกัน 6 คน โดยท่านเป็นคนสุดท้อง
ส่วนพี่น้องมาดังนี้
๑ นายอ่อนสี
๒ นางแตงอ่อน
๓ นายบุญตา
๔ นายทองอิน
๕ นางปทุมา
๖ คึออาตมา ชื่อ จันทร์ดี
หลวงปูเล่าว่า "ในวันที่อาตมาจะเกิดนั้น โยมแม่กำลังเกี่ยวข้าวอยู่ลำพัง ขณะเกี่ยวอยู่นั้นรู้สึกเจ็บท้องจี๊ดๆ ไม่นานก็คลอดอาตมาออกมา ไม่มีใครอยู่ด้วย โยมแม่ต้องฃ่วยตัวเอง จนอาตมาคลอดออกมาได้อย่างปลอดภัย จากนั้นโยมแม่ก็อุ้มอาตมากลับบ้าน แล้วเลี้ยงดูจนกระทั่งเติบโต"
ยอมเสียสละเพื่อแม่
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าถึงชีวิตในปฐมวัยว่า ท่านมีความลำบากมาก เพราะเป็นช่วงเปลี่ยนแปลงการปกครองของบ้านเมือง คือปี พ.ศ. 2475 พร้อมกับโรคระบาดเกิดนั้นในทั่วท้องถิ่นในย่านบ้านเกิดของท่าน คือ บ้านโนนสี บ้านโนนพิบาล บ้านนาครู บ้านโพนละออม และบ้านหนองแวก ฝนฟ้าแห้งแล้งไม่ตกตามฤดูกาล ข้าวกล้าในท้องนาไม่ผลิดอกออกผล ด้วยความอดอยาก ชาวบ้านจึงได้พากันอพยพไปอยู่บ้านสำนัก ตำบลโนนตุ่น อำเภอกุดข้าว จังหวัดขอนแก่น ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นตำบลหนองแปน อยู่ในอำเภอมัญจาคีรี
ปีนั้นพี่ชายคนโตของอาตมา คือนายอ่อนสีได้รับราชการเป็นทหารยศสิบตรี เป็นคนใกล้ชิดหม่อมเจ้าวรเดช เมื่อบ้านเมืองเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หม่อมเจ้าวรเดชเข้าไปเกี่ยวของโดยเป็นกบฏต่อฝายที่เปลี่ยนแปลงการปกครองและพ่ายแพ้จึงถูกจับ คนใกล้ชิดท่านก็พลอยถูกจับตัวไปด้วย สิบตรีอ่อนสี พี่ชายของอาตมาก็เป็นหนึ่งในจำนวนผู้ใกล้ชิดที่ถูกจับนั้น กบฏที่ถูกจับทุกคนถูกนำตัวไปขังคุก เมื่อโยมแม่ได้ทราบเรื่องพี่ชายติดคุก ก็เสียใจมากร้องห่มร้องไห้เป็นการใหญ่ ซึ่งก็เป็นธรรมดาของแม่ทุกคนที่รักลูกเป็นห่วงลูก
โยมแม่ของอาตมาก็เหมือนกับโยมพ่อ คือเป็นคนเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เมื่อมองไม่เห็นทางอื่นที่จะช่วยเหลือพี่ชายได้ก็หันเข้าหาพระพุทธศาสนาเป็นที่พึ่ง โดยท่านเชื่อว่าหากให้อาตมาบวช บำเพ็ญศีล ภาวนา ไหว้พระสวดมนต์ ส่งกระแสจิตช่วยเหลือพี่ชาย ก็จะทำให้พี่ชายพ้นจากการติดคุกได้
ขณะนั้นอาตมาอายุได้ 12 ปี เมื่อได้ฟังข้อเสนอของโยมแม่ก็รู้สึกพอใจ มองเห็นว่าเป็นข้อเสนอที่ดีทำตามได้ไม่ยาก โยมแม่เมื่อเห็นอาตมาตกลงใจก็ไม่รอช้า รีบพาไปบวชเณรที่วัดโพธิ์ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม ตรงกับปี พ.ศ. 2475 โดยมีพระครู วินัยธรมุ่ง เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อบวชแล้วได้มาอยู่ที่วัดกลาง อำเภอโกสุมพิสัย เพราะช่วงนั้นโยมแม่ได้อพยพครอบครับไปอยู่ที่บ้านโนนสำนัก อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น จึงติดตามท่านมาอยู่ด้วย
หลวงปู่จันทร์ดีได้จำพรรษาอยู่ที่วัดกลางตั้งแต่ปี พ.ศ. 2576 ได้ศึกษาพระธรรมวินัยกับครูอาจารย์หลายท่าน สอบนักธรรมชั้นตรีได้ในปี พ.ศ 2479
และสอบนักธรรมชั้นโท ได้ในปี พ.ศ 2481
"ขณะที่เรียนนักธรรมอยู่นั้น อาตมาได้เรียนบาลีควบคู่ไปด้วย สมัครเข้าสอบเป็นมหาเปรียนญกับเขาในปี พ.ศ. 2482 แต่สอบไม่ได้ แต่ก็ไม่ละความพยายาม จึงสอบบาลีเป็นมหากับเขาได้เมื่อปี พ.ศ. 2485"
หลวงปู่ได้เล่าถึงการเรียนบาลี เพื่อสอบเป็นมหานั้นว่ามีความลำบากมาก ขระที่เรียนนักธรรมตรี-โท-เอก ท่านก็เรียนบาลีควบคู่ไปด้วย และท่านสอบได้โดยไม่ซ้ำชั้น ซึ่งขณะนั้นท่านเป็นพระฝายมหานิกายอยู่ จนกระทั่งท่านสอบบาลีประโยค 1-2ได้ท่านจึงหันมาปฏิบัติธรรมเป็นพระฝายธรรมยุต ด้วยสาเหตุของความอยากรู้อยากเห็นในโลกกว้าง และอยากจาริกโปรดสัตว์ บำเพ็ญเพียรและแสวงหาความวิเวกแห่งโมกธรรม
เรียนกรรมฐาน กับบูรพาจารย์ใหญ่
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าว่าช่วงนั้นเป็นปี พ.ศ. 2480 เป็นระยะออกพรรษาเพียงหนึ่งอาทิตย์ หลังจากได้เรียนกรรมฐานจาก หลวงปู่มั่น และ หลวงปู่เสาร์แล้ว ท่านรต้องการฝึกของจริง คือการออกธุดงค์กับครูบาอาจารย์บ้าง
ต่อมา ท่านจึงได้มีโอกาสติดตามพระอาจารย์ทั้ง 5 เดินธุดงค์ไปยังภูเขาควาย ฝั่งประเทศลาว พระอาจารย์ทั้ง 5 องค์นั้นได้แก่
พระอาจารย์วรรณา แห่งวัดเลิงใต้ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์สมบูรณ์ แห่งวัดกุดเชือก อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์โพธิ แห่งวัดบ้านดอน อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์สิงห์ แห่งวัดบ้านเกาะ อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัด มหาสารคาม
พระอาจารย์แก้ว แห่งวัดบ้านไฝ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัด อุบลราชธานี
ซึ่งพระอาจารย์ทั้งหมดนี้ ต่างเคารพนับถือกันมาก
พระอาจารย์ทั้งหมดที่กล่าวมานี้ ทุกองค์ล้วนแต่มีพรรษาที่ 15-16 ทั้งนั้น แต่ละองค์มีความรอบรู้ทั้งทางธรรมและทางเวทมนต์คาถา พร้อมทั้งยาสมุนไพรเป็นเลิศ เพราะเพราะพระธุดงค์ก่อนที่จะธุดงค์เดี่ยวได้นั้น จะต้องมีพระพี่เลี้ยงที่มีประสบการณ์ในการธุดงค์มาก่อน เพื่อชี้แนะสั่งสอน ตลอดจนประสบการณ์ความชำนาญเกี่ยวกับสมุนไพรโบราณเป็นเรื่องแรก
เพราะนอกจากจะรักษาตัวเองในคราวเจ็บป่วย ยังสามารถโปรดสัตว์และผู้ยากไร้ ซึ่งสมัยก่อนชาวบ้านตามชนบท ยังไม่มีหยูกยารักษากัน เมื่อถึงคราวเจ็บป่วยต้องอาศัยพระธุดงค์เป็นส่วนมาก
ดังนั้น การเดินธุดงค์ของพระทุกองค์ในยุคนั้น พระธรรมวินัยต้องเคร่ง และต้องมีความรอบรู้ครอบถ้วนในการธุดงค์ เพราะไหนจะเผชิญกับสัตวร้ายต่างๆ ในป่า ไหนจะต้องเผชิญกับไข้ป่านานาสารพัด หลวงปู่ท่านกล่าว
เดินธุดงค์ไปฝั่งลาว
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าต่อไปว่า เมื่อทุกฝ่ายตกลงกันได้แล้ว จึงออกเดินทางจากวัดบ้านไผ่ใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี จุดมุ่งหมายของอาจารย์ทั้งหลาย นอกจากเพื่อเป็นการธุดงค์แล้ว ก็ยังต้องการแสวงหาเหล็กไหลไปด้วย
"คณะของอาตมาข้ามไปยังฝั่งลาว เดินทางไปประเทศลาวครั้งนี้ลำบากมาก พระอาจารย์ทั้ง 5 ได้พาอาตมา เดินธุดงค์ผ่านไปยังบ้านนาแห้ว พระบาทโพนสัน วกไปวกมาจนถึงเมืองเวียงจันทน์ จากเวียงจันทน์ก็ไปทางหลวงพระบาง เชีบงขวาง พงสาลี ผ่านทุ่งไหหิน จนกระทั่งถึงบ้านหัวดง"
บ้านหัวดงหรือบ้านดงน้อยแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านที่อยู่เชิงภูเขาควาย มีบ้านคนอยู่เพียง 7-8 หลังคาเรือนเท่านั้น ชาวบ้านมีอาชีพทำนาและหาของป่าขาย
เวลานั้นอยู่ในฃ่วงหน้าแล้ง คณะของอาตมาได้หยุดพักอยู่ใกล้ๆหมู่บ้านนั้น พอตกเย็นได้มีนายน้อยและนายตา ซึ่งเป็นคนที่อาวุโสที่สุดในหมู่บ้านดงน้อย ได้เข้ามา นมัสการและประเคนปัจจัยต่างๆที่จำเป็นสำหรับพระธุดงค์ จากนั้นก็นั่งสนทนาและสอบถาม ถึงการเดินทางต่อไปของพระธุดงค์ พระอาจารย์ก็ตอบว่า "จะเดินขึ้นภูเขาควาย"
ภูเขาควาย สปป ลาว
มีอยู่ตอนหนึ่ง นายน้อย ได้พูดพาดพิงไปถึงเหล้กไหลว่ามีจริงและ นายตา ก็ยืนยันว่าไปเห็นมาหลายคนแล้ว แต่ไม่มีใครไปเอามาได้และคนที่ไปเอาส่วนมากจะเสียชีวิตหมด
ปรากฏว่า พระอาจารย์สมบูรณ์ ท่านเกิดมีความสนใจขึ้นมา จึงได้สอบถามนายน้อยว่า "เหล็กไหลที่ว่านี้ อยู่ที่ถ้ำสระบัว ในภูเขาควาย ห่างจากหมู่บ้านประมาณ 10 กิโล"
ทางด้าน พระอาจารย์วรรณา พระอาจารย์โพธิ์ พระอาจารย์สิงห์ (คนละท่านกับพระอาจารย์ สิงห์ ขันตยาคโม) ได้ปรึกษากันหารือว่าสมควรไปดูเหล็กไหลหรือไม่ ซึ่กทุกรูปต่างก็เห็นพ้องต้องกันว่า จะเดินไปดูพรุ่งนี้เช้า ส่วยนายน้อยและนายตา ได้พยายามห้ามปราม เพราะกลัวพระธุดงค์จะเป็นอันตราย
ไปเอาเหล็กไหล
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าว่าทางฝ่ายพระอาจารย์สมบูรณ์ ท่านไดเพดตัดบทไปว่า "จะขึ้นไปดูเฉยๆ คงไม่เป็นไรหรอก"
เมื่อได้ยินท่านอาจารย์สมบูรณ์พูดเช่นนั้น นายน้อยและนายตาจึงกลับไปยังบ้านของตน
พอรุ่งขึ้นเช้ากลุ่มพระธุดงค์ผู้แสวงหาธรรมและแสวงหาเหล็กไหล ซึ่งประกอบด้วยพระอาจารย์ทั้ง 5 และหลวงปู่จันทร์ดี ขณะนั้นยังเป็นสามเณรอยู่ ก็ได้พากันเดินตรงไปยังภูเขาควาย เพื่อค้นหา ถ้ำสระบัว ตามที่นายน้อยและนายตาได้บอกไว้ และได้เจอถ้ำแห่งหนึ่ง ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำที่สะอาดมาก หน้าถ้ำมีลานหินกว้าง มีต้นตระแบกขึ้นหน้าถ้ำประมาณ 3-4 ต้น ถ้ำแห่งนี้กว้างขวางมาก ที่กลางถ้ำมีสระน้ำเล็กๆอยู่สระหนึ่ง มีน้ำใสสะอาด และตรงผนังถ้ำด้านขวามือมีน้ำไหลซึมตลอดเวลา มีตะไคร่สีเขียวเกาะอยู่เป็นหย่อมๆอย่างสวยงาม ซึ่งเป็นลักษณะถ้ำที่เหมาะ สำหรับนั่งบำเพ็ญภาวนาเป็นที่สุด
ภาพสมมุติ
พระอาจารย์สมบูรณ์ ได้ถือโอกาสตรวจตราผนังถ้ำ พลันสายตาของท่านได้ไปสะดุดหยุดกับวัตถุสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะมันมะเมือมติดอยู่ตรงฝาผนังถ้ำ ห่างจากจุดที่น้ำซึมประมาณ 2 วา ลักษณะเป็นตุ่ม คล้ายตุ่มฆ้อง เป็นสีดำมันเลื่อม
อาจารย์ทุกองค์ต่างก็พูดเป็นเสียวเดียวกันว่า "นั่นแหละเหล็กไหล"
เหล็กไหล
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว ได้เล่าให้ฟังถึงลักษณะของเหล็กไหลและคุณสมบัติของเหล็กไหลว่า "มันกินน้ำผึ้งเป็นอาหาร ลนด้วยเทียนยืดได้ และหดกลับคืนมาได้ สามารถดับพิษความร้อนทุกชนิดได้ แม้แต่ถ่านแดงๆก้ดับ และน้ำที่เดือด เมื่อเอาเหล็กไหลไปจุ่มจะเย็นทันที ที่สำคัญคือ สามารถลบประจุไฟฟ้าได้ทุกชนิด ถ้าเหล็กไหลก้อนใหญ่มีฤทธิ์เดชได้มาก แม้ไฟฟ้าในบ้านยังดับได้ กระสุนทุกชนิดไม่ระคายเคืองผิวหนัง และของมีคมทุกชนิดก็จะถูกลบคมได้ ทั้งยังเคลื่อนไหวตัวเองได้ บางทีอาจสูญหายเอง"
หลวงปู่กล่าวว่า เหล็กไหลนั้นถ้ามองด้วยสายตาเป็นวัตถุเหมือนเหล็ก ส่วนรูปพรรณสัญฐานก็แตกต่างกันไปในแต่ละก้อน แต่ที่เหมือนกันคือมาน้ำหนักมากผิดปกติ คือ ผิดกับวัตถุใดๆทั้งสิ้น ส่วนผิวก็เกลี้ยงเรียบ เป็นเงามันเลื่อม ปราสจากตำหนิริ้วรอย บางก้อนเขียวเข้มเป็นสีปีกแมลงทับ บางก้อนสีน้ำตาลเข้มแบบท้องปลาไหล บางก้อนเป็นสีเงินยวงและแปรสีสันไปได้เอง ในลักษณะพิศดารต่างๆ ตามแต่ละสถานที่หรือกาลเวลา
จะขอกล่าวคุณลักษณะ และคุณสมบัติตลอดจนประสิทธิภาพของเหล็กไหล มี 6 อย่างด้วยกันคือ
1. เสพน้ำผึ้งเป็นอาหาร
2. ลนด้วยเทียนยืดได้ และหดกลับมาเป็นทรงเดิมได้
3. ดับพิษความร้อนทุกชนิด แม้แต่ถ่านแดงๆและน้ำร้อนที่กำลังเดือด
4. สามารถทำลายประจุไฟฟ้าได้ทุกชนิดได้ตามขนาดใหญ่-เล็กของก้อน ถ้าใหญ่มากก็มีฤทธิ์เดชมาก ขนาดไฟในบ้านช็อตดับหรือหัวเทียนรถยนต์ไม่สปาร์คติดเครื่องไม่ได้
5. กระสุนปืนทุกชนิด แก๊สหรือชนวนระเบิดจะถูกควบคุม ไม่อาจเกิดประกายชนวนระเบิดได้
6. ของมีคมทุกชนิดจะถูกลบคมออกทันที เมื่อเข้าในรัศมีของเหล็กไหล
ครั้งแรกแคล้วคลาด
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว ผู้อยู่ในเหตุการณ์ ในขณะที่กลุ่มพระอาจารย์ทั้ง 5 ที่ได้กล่าวนามมานั้น ได้เล่าให้ฟังต่อไปว่า
"ท่านอาจารย์วรรณา ได้มอบหมายให้ท่านอาจารย์โพธิไปหาน้ำผึ้ง ส่วนอาจารย์สมบูรณ์ อาจารย์สิงห์และ อาจารย์แก้วช่วยกันเตรียนข้าวที่จะใช้เผาข้าวหลาม ตัวอาตมาก็เป็นแผนกลำเลียงและตัดไม้ไผ่แห้ง เพื่อเตรียมจุดไฟให้ความสว่างภายในถ้ำ
ส่วนท่านอาจารย์วรรณาเองท่านได้ต้มเทียน และหัวรังผึ้ง เพื่อทำเทียนชัยซึ่งจะต้องใช้ขี้ผึ้งบริสุทธิ์ล้วนๆ เอาใส่กระบอกไม้ไผ่ยาวและใช้ฝ้านหนึ่งใจ แทงไว้ระหว่างกระบอกไม้ไผ่ เพื่อทำเป็นไส้เทียนชัย
จากนั้นรอให้เทียนเย็น จนกว่าจะจับตัวแข็งจึงจะใช้มีดฟันกระบอกไม้ไผ่ออก และช่วงเวลาที่รอเทียนแข็งตัวนั้น ท่านอาจารย์โพธิ์ได้กลับมาพร้อมกับน้ำผึ้งครึ่งบาตร และตรงกับเวลาเพลพอดี จึงได้พากันหยุดพักฉันเพล
เมื่อเสร็จจากฉันเพล ทุกองค์ต่างก็สวดยถาสัพพีฯ และสวดชยันโตฯ สดุดีเทวดา จากนั้นอาจารย์วรรณาก็ได้ไปเอาน้ำผึ้งเทใส่ถ้วย โดยท่านเอามือซ้ายถือถ้วย มือขวาถือเทียนชัย แล้วท่านก็นำเทียนชัยไปลนปุ่มที่อยู่ตรงผนังถ้ำ พร้อมกับท่องคาถาอัญเชิญเหล็กไหล
ปรากฏว่าปุ่มนั้นคล้ายจะเยิ้มโผล่ออกมาเหมือนงู มีสีเขียว แดง ดำ มองดูเหมือนจะอ้าปากกว้างเหมือนจะขู่ ทำให้พระทุกรูปเห็นแล้วตกตะลึงไปตามๆกัน อาจารย์วรรณาจึงดึงเทียนชัยออกจากปุ่มนั้น หัวที่เหมือนงูจึงหดกลับไปตามเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
อาจารย์วรรณาได้ทดลองอยู่ถึง 2-3 ครั้ง ก็ยังเกิดเหตุการณ์เหมือนเดิม เมื่อท่านดึงเทียนออกในครั้งที่ 5 อาจารย์สมบูรณ์ เริ่มใจกล้า จึงใช้ไม้ไปแหย่ดู ก็ไม่เห็นว่าจะกระดุกกระดิกหรือแสดงอาการใดๆ ท่านจึงเอาผ้าอาบน้ำฝนพันมือแล้วไปจับและคลำปุ่มนั้นดู ปรากฏว่าปุ่มนั้นเย็นเหมือนน้ำแข็ง ความเย็นจับถึงขั้วหัวใจเลยทีเดียว
เมื่ออาจารย์สมบูรณ์ทดลองดูแล้ว ทำให้อาจารย์องค์อื่นขอจับดูบ้าง ต่างก็รู้สึกว่าเย็นจับขั้วหัวใจเหมือนกันทุกองค์ และอาตมาก็ได้จับดูด้วยเช่นกัน จึงรู้สึกว่าเหล็กไหลเย็นเหมือนจับก้อนน้ำแข็ง จะผิดกันก็ตรงเราจับก้อนน้ำแข็งและเปียกมือ แต่จับก้อนเหล็กไหลไม่เปียกมือ
หลวงปู่เล่าต่อไปว่า วันนั้นยังไม่ทำพิธีเอา เพราะปรากฏว่าเทียนชัยอ่อนตัว คือยังไม่แข็งตัวพอดี จึงพากันเดินทางกลับมาบ้านดงน้อยเหมือนเดิม ทำให้ชาวบ้านแปลกใจกัน ที่คณะพระธุดงค็กลุ่มนี้ปลอดภัยไม่มีอันตราย
หลวงปู่กล่าวว่า สาเหตุที่ปลอดภัยนั้น เพราะหลังจากฉันเพลแล้ว พระทุกองค์ต่างก็สวด ยถาสัพพีฯ และสวดชยันโตฯ ปรากฏว่าเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา ต่างก็อนุโมทนาสาธุการ จึงทำให้คณะพระธุดงค์ปลอดภัยกลับมา
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว เล่าว่าทางฝ่ายพระอาจารย์สมบูรณ์ ท่านไดเพดตัดบทไปว่า "จะขึ้นไปดูเฉยๆ คงไม่เป็นไรหรอก"
เมื่อได้ยินท่านอาจารย์สมบูรณ์พูดเช่นนั้น นายน้อยและนายตาจึงกลับไปยังบ้านของตน
พอรุ่งขึ้นเช้ากลุ่มพระธุดงค์ผู้แสวงหาธรรมและแสวงหาเหล็กไหล ซึ่งประกอบด้วยพระอาจารย์ทั้ง 5 และหลวงปู่จันทร์ดี ขณะนั้นยังเป็นสามเณรอยู่ ก็ได้พากันเดินตรงไปยังภูเขาควาย เพื่อค้นหา ถ้ำสระบัว ตามที่นายน้อยและนายตาได้บอกไว้ และได้เจอถ้ำแห่งหนึ่ง ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำที่สะอาดมาก หน้าถ้ำมีลานหินกว้าง มีต้นตระแบกขึ้นหน้าถ้ำประมาณ 3-4 ต้น ถ้ำแห่งนี้กว้างขวางมาก ที่กลางถ้ำมีสระน้ำเล็กๆอยู่สระหนึ่ง มีน้ำใสสะอาด และตรงผนังถ้ำด้านขวามือมีน้ำไหลซึมตลอดเวลา มีตะไคร่สีเขียวเกาะอยู่เป็นหย่อมๆอย่างสวยงาม ซึ่งเป็นลักษณะถ้ำที่เหมาะ สำหรับนั่งบำเพ็ญภาวนาเป็นที่สุด
ภาพสมมุติ
พระอาจารย์สมบูรณ์ ได้ถือโอกาสตรวจตราผนังถ้ำ พลันสายตาของท่านได้ไปสะดุดหยุดกับวัตถุสิ่งหนึ่ง ซึ่งมีลักษณะมันมะเมือมติดอยู่ตรงฝาผนังถ้ำ ห่างจากจุดที่น้ำซึมประมาณ 2 วา ลักษณะเป็นตุ่ม คล้ายตุ่มฆ้อง เป็นสีดำมันเลื่อม
อาจารย์ทุกองค์ต่างก็พูดเป็นเสียวเดียวกันว่า "นั่นแหละเหล็กไหล"
เหล็กไหล
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว ได้เล่าให้ฟังถึงลักษณะของเหล็กไหลและคุณสมบัติของเหล็กไหลว่า "มันกินน้ำผึ้งเป็นอาหาร ลนด้วยเทียนยืดได้ และหดกลับคืนมาได้ สามารถดับพิษความร้อนทุกชนิดได้ แม้แต่ถ่านแดงๆก้ดับ และน้ำที่เดือด เมื่อเอาเหล็กไหลไปจุ่มจะเย็นทันที ที่สำคัญคือ สามารถลบประจุไฟฟ้าได้ทุกชนิด ถ้าเหล็กไหลก้อนใหญ่มีฤทธิ์เดชได้มาก แม้ไฟฟ้าในบ้านยังดับได้ กระสุนทุกชนิดไม่ระคายเคืองผิวหนัง และของมีคมทุกชนิดก็จะถูกลบคมได้ ทั้งยังเคลื่อนไหวตัวเองได้ บางทีอาจสูญหายเอง"
หลวงปู่กล่าวว่า เหล็กไหลนั้นถ้ามองด้วยสายตาเป็นวัตถุเหมือนเหล็ก ส่วนรูปพรรณสัญฐานก็แตกต่างกันไปในแต่ละก้อน แต่ที่เหมือนกันคือมาน้ำหนักมากผิดปกติ คือ ผิดกับวัตถุใดๆทั้งสิ้น ส่วนผิวก็เกลี้ยงเรียบ เป็นเงามันเลื่อม ปราสจากตำหนิริ้วรอย บางก้อนเขียวเข้มเป็นสีปีกแมลงทับ บางก้อนสีน้ำตาลเข้มแบบท้องปลาไหล บางก้อนเป็นสีเงินยวงและแปรสีสันไปได้เอง ในลักษณะพิศดารต่างๆ ตามแต่ละสถานที่หรือกาลเวลา
จะขอกล่าวคุณลักษณะ และคุณสมบัติตลอดจนประสิทธิภาพของเหล็กไหล มี 6 อย่างด้วยกันคือ
1. เสพน้ำผึ้งเป็นอาหาร
2. ลนด้วยเทียนยืดได้ และหดกลับมาเป็นทรงเดิมได้
3. ดับพิษความร้อนทุกชนิด แม้แต่ถ่านแดงๆและน้ำร้อนที่กำลังเดือด
4. สามารถทำลายประจุไฟฟ้าได้ทุกชนิดได้ตามขนาดใหญ่-เล็กของก้อน ถ้าใหญ่มากก็มีฤทธิ์เดชมาก ขนาดไฟในบ้านช็อตดับหรือหัวเทียนรถยนต์ไม่สปาร์คติดเครื่องไม่ได้
5. กระสุนปืนทุกชนิด แก๊สหรือชนวนระเบิดจะถูกควบคุม ไม่อาจเกิดประกายชนวนระเบิดได้
6. ของมีคมทุกชนิดจะถูกลบคมออกทันที เมื่อเข้าในรัศมีของเหล็กไหล
ครั้งแรกแคล้วคลาด
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว ผู้อยู่ในเหตุการณ์ ในขณะที่กลุ่มพระอาจารย์ทั้ง 5 ที่ได้กล่าวนามมานั้น ได้เล่าให้ฟังต่อไปว่า
"ท่านอาจารย์วรรณา ได้มอบหมายให้ท่านอาจารย์โพธิไปหาน้ำผึ้ง ส่วนอาจารย์สมบูรณ์ อาจารย์สิงห์และ อาจารย์แก้วช่วยกันเตรียนข้าวที่จะใช้เผาข้าวหลาม ตัวอาตมาก็เป็นแผนกลำเลียงและตัดไม้ไผ่แห้ง เพื่อเตรียมจุดไฟให้ความสว่างภายในถ้ำ
ส่วนท่านอาจารย์วรรณาเองท่านได้ต้มเทียน และหัวรังผึ้ง เพื่อทำเทียนชัยซึ่งจะต้องใช้ขี้ผึ้งบริสุทธิ์ล้วนๆ เอาใส่กระบอกไม้ไผ่ยาวและใช้ฝ้านหนึ่งใจ แทงไว้ระหว่างกระบอกไม้ไผ่ เพื่อทำเป็นไส้เทียนชัย
จากนั้นรอให้เทียนเย็น จนกว่าจะจับตัวแข็งจึงจะใช้มีดฟันกระบอกไม้ไผ่ออก และช่วงเวลาที่รอเทียนแข็งตัวนั้น ท่านอาจารย์โพธิ์ได้กลับมาพร้อมกับน้ำผึ้งครึ่งบาตร และตรงกับเวลาเพลพอดี จึงได้พากันหยุดพักฉันเพล
เมื่อเสร็จจากฉันเพล ทุกองค์ต่างก็สวดยถาสัพพีฯ และสวดชยันโตฯ สดุดีเทวดา จากนั้นอาจารย์วรรณาก็ได้ไปเอาน้ำผึ้งเทใส่ถ้วย โดยท่านเอามือซ้ายถือถ้วย มือขวาถือเทียนชัย แล้วท่านก็นำเทียนชัยไปลนปุ่มที่อยู่ตรงผนังถ้ำ พร้อมกับท่องคาถาอัญเชิญเหล็กไหล
ปรากฏว่าปุ่มนั้นคล้ายจะเยิ้มโผล่ออกมาเหมือนงู มีสีเขียว แดง ดำ มองดูเหมือนจะอ้าปากกว้างเหมือนจะขู่ ทำให้พระทุกรูปเห็นแล้วตกตะลึงไปตามๆกัน อาจารย์วรรณาจึงดึงเทียนชัยออกจากปุ่มนั้น หัวที่เหมือนงูจึงหดกลับไปตามเดิม เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
อาจารย์วรรณาได้ทดลองอยู่ถึง 2-3 ครั้ง ก็ยังเกิดเหตุการณ์เหมือนเดิม เมื่อท่านดึงเทียนออกในครั้งที่ 5 อาจารย์สมบูรณ์ เริ่มใจกล้า จึงใช้ไม้ไปแหย่ดู ก็ไม่เห็นว่าจะกระดุกกระดิกหรือแสดงอาการใดๆ ท่านจึงเอาผ้าอาบน้ำฝนพันมือแล้วไปจับและคลำปุ่มนั้นดู ปรากฏว่าปุ่มนั้นเย็นเหมือนน้ำแข็ง ความเย็นจับถึงขั้วหัวใจเลยทีเดียว
เมื่ออาจารย์สมบูรณ์ทดลองดูแล้ว ทำให้อาจารย์องค์อื่นขอจับดูบ้าง ต่างก็รู้สึกว่าเย็นจับขั้วหัวใจเหมือนกันทุกองค์ และอาตมาก็ได้จับดูด้วยเช่นกัน จึงรู้สึกว่าเหล็กไหลเย็นเหมือนจับก้อนน้ำแข็ง จะผิดกันก็ตรงเราจับก้อนน้ำแข็งและเปียกมือ แต่จับก้อนเหล็กไหลไม่เปียกมือ
หลวงปู่เล่าต่อไปว่า วันนั้นยังไม่ทำพิธีเอา เพราะปรากฏว่าเทียนชัยอ่อนตัว คือยังไม่แข็งตัวพอดี จึงพากันเดินทางกลับมาบ้านดงน้อยเหมือนเดิม ทำให้ชาวบ้านแปลกใจกัน ที่คณะพระธุดงค็กลุ่มนี้ปลอดภัยไม่มีอันตราย
หลวงปู่กล่าวว่า สาเหตุที่ปลอดภัยนั้น เพราะหลังจากฉันเพลแล้ว พระทุกองค์ต่างก็สวด ยถาสัพพีฯ และสวดชยันโตฯ ปรากฏว่าเทวดา เจ้าป่าเจ้าเขา ต่างก็อนุโมทนาสาธุการ จึงทำให้คณะพระธุดงค์ปลอดภัยกลับมา
ครั้งหลังพินาศสิ้น
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว ได้กล่างถึงการไปเอาเหล้กไหลในครั้งที่สองนี้ว่า
ในวันรุ่งขึ้น อาตมาจำได้ว่าวันนั้นเป็นวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปี พ.ศ. 2481 หลังจากฉันอาหารเพลที่บ้านดงน้อยแล้ว คณะพระธุดงค์ได้เดินทางไปยังภูเขาควาย เพื่อไปยังถ้ำสระบัวอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าร่องรอยที่เผาข้าวหลาม ทำให้ถ้ำมีความสกปรก พระอาจารย์วรรณาจึงให้อาตมาเอาข้าวหลามออกไปเผาด้านนอกถ้ำ เพราะจะทำให้มีควันไฟรบกวนในขณะทำพิธี
การเผาข้าวหลามในต้อนนี้เป็นการเผาเพื่อเอาไว้เป็นอาหารเช้า เพราะต่างตกลงกันว่า จะค้างคืนที่ถ้ำสระบัวคืนหนึ่ง เป็นการเตรียมตัวเอาไว้เผื่อมีเหตุฉุกเฉิน
ส่วนอาจารย์วรรณาก็ได้ใช้เทียนชัยลนตรงปุ่ม คณะอาจารย์ทุกองค์ต่างก็โอมคาถามหามนต์ พร้อมทั้งใช้อำนาจทางไสยเวทย์ แต่จะเป็นประเภทใดนั้นอาตมาไม่รู้ เพราะอาตมาได้ไปเผาข้าวหลามที่นอกถ้ำ แต่ก็ไดเยินเสียงสวดพึมพำๆมิได้ขาด
ภายหลังทำพิธีสวดอยู่นาน ตุ่มที่คล้ายตุ่มฆ้องก็ค่อยๆปลิ้นออกมา เหมือนกับยางมะตอยอ่อนๆ ย้อยลงมาดูดกินน้ำผึ้งที่อาจารย์สมบูรณ์เตรียมไว้ในถ้วยตีนช้าง อาจารย์วรรณาก็ทำการลนเทียนชัยไปเรื่อยๆ กะกันว่าจะให้เหล็กไหลกินน้ำผึ้งจนอิ่ม จึงจะทำพีธีตัด ส่วนอาจารย์สิงห์ ท่านไม่ได้ช่วยอะไร เพราะท่านนั่งสวดมนต์ภาวนาไปเรื่อยๆ
ความที่อาจารย์สมบูรณ์ อยากได้เหล็กไหลก้อนโตๆ ท่านเลยค่อยถือถ้วยน้ำผึ้ง ที่เหล็กไหลกำลังลงมากินอยู่นั้น เดินวนสระน้ำสองรอบ เส้นเหล็กไหลก็ค่อยๆยืดตาม จนเล็กลงๆ อาจารย์วรรณาก็เลยบอกให้อาจารย์สมบูรณ์พาไปพันรอบต้นไม้ที่ปากถ้ำ เผื่อให้มันขาดเอง เพราะยิ่งยาวเท่าไหร่เส้นเหล็กไหลยิ่งเล็กลงไปเรื่อยๆ
หลวงปู่เล่าว่า ในช่วงที่ท่านได้เห็นเหล็กไหล ตอนที่อาจารย์สมบูรณ์นำมาพันรอบต้นไม้ที่ปากถ้ำ อาจารย์สมบูรณ์ ได้สั่งห้ามท่านไม่ให้อยู่ใกล้
"ท่านอาจารย์จะหวังดีก็ได้เพราะอาตมายังเป็นเณรน้อยอยู่ พรรษายังไม่แก่กล้า กลัวว่าอากเป็นอันตรายได้"
พออาจารย์สมบูรณ์พันรอบต้นไม้ในรบที่สองนี้ ปรากฏว่า เส้นเหล็กไหลเป็นประกายระยิยระยับ เส้นสายขนาดใยบัวแสงสว่างขนาดนั้นสว่างมาก เพราะพระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขาพอดี แสงสว่างนี้ออกมาจากเส้นใยของเหล็กไหล ที่อาจารย์สมบูรณ์ท่านพาไปพันรอบสระไว้สองรอบ
จากนั้นประมาณ 5 นาทีเห็นจะได้ ปรากฏว่าถ้ำสะเทือนสนั่นหวั่นไหวคล้ายจะถล่มทลาย พระอาจารย์ทุกองค์ต่างเข้าใจว่าเหล็กไหลกินน้ำผึ้งอิ่มแล้ว อาจารย์สมบูรณ์จึงบอกให้อาจารย์วรรณาเอาเทียนชัยที่ลนอยู่ออกจากปุ่ม พร้อมกับให้อาจารย์แก้วและอาจารย์โพธิ์เตรียมมีดหมอ ตัดตรงโคนเหล็กไหล
ทันใดนั้นเหตุการณืไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เสียวดังเปรียธๆครืนๆ เป็นเสียงที่อาตมาได้ยินแต่เพียงผู้เดียว จะว่าเหมือนตอนฟ้าผ่าก็คงไม่ผิด เพราะมีทั้งแสงประกายเจิดจ้า และมีเสียงแผดสนั่น จนเยื่อแก้วหูแทบชำรุด
ต้นตะแบกกับต้นตะเครียนที่เหล็กไหลพันอยู่นั้นล้มลง แต่ เหล็กไหลยังอยู่ที่เดิม สักครู่จึงค่อยหดตัวอยู่ในสภาพเดิม
หลวงปู่เล่าต่อไปว่า เมื่อเหตูการณ์อันน่าตื่นเต้นผ่านไปอย่างสงบแล้ว ท่านได้มองไปยังอาจารย์สมบูรณ์ที่กำชับกับท่านว่าไม่ให้เข้าไปใกล้ ได้กลายเป็นศพไปแล้วในสภาพแขนขาขาด ทั้งสองข้าง ส่วนศรีษะไม่ทราบว่ากระเดนไปทางไหน ส่วนอาจารย์อีกสี่องค์นั้นอยู่ในสภาพเดียวกัน คือ ไม่คอขาด ก็ตัวขาดออกจากกัน แต่ที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ ทุกศพไม่มีเลือดไหลออกมาเลย จึงเป็นอันว่า ภูเขาควายในขณะนั้น มีเหลือเพียงท่านองค์เดียวที่รอดตาย
หลวงปู่จันทร์ดี เกสาโว ได้กล่างถึงการไปเอาเหล้กไหลในครั้งที่สองนี้ว่า
ในวันรุ่งขึ้น อาตมาจำได้ว่าวันนั้นเป็นวันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 3 ปี พ.ศ. 2481 หลังจากฉันอาหารเพลที่บ้านดงน้อยแล้ว คณะพระธุดงค์ได้เดินทางไปยังภูเขาควาย เพื่อไปยังถ้ำสระบัวอีกครั้งหนึ่ง ปรากฏว่าร่องรอยที่เผาข้าวหลาม ทำให้ถ้ำมีความสกปรก พระอาจารย์วรรณาจึงให้อาตมาเอาข้าวหลามออกไปเผาด้านนอกถ้ำ เพราะจะทำให้มีควันไฟรบกวนในขณะทำพิธี
การเผาข้าวหลามในต้อนนี้เป็นการเผาเพื่อเอาไว้เป็นอาหารเช้า เพราะต่างตกลงกันว่า จะค้างคืนที่ถ้ำสระบัวคืนหนึ่ง เป็นการเตรียมตัวเอาไว้เผื่อมีเหตุฉุกเฉิน
ส่วนอาจารย์วรรณาก็ได้ใช้เทียนชัยลนตรงปุ่ม คณะอาจารย์ทุกองค์ต่างก็โอมคาถามหามนต์ พร้อมทั้งใช้อำนาจทางไสยเวทย์ แต่จะเป็นประเภทใดนั้นอาตมาไม่รู้ เพราะอาตมาได้ไปเผาข้าวหลามที่นอกถ้ำ แต่ก็ไดเยินเสียงสวดพึมพำๆมิได้ขาด
ภายหลังทำพิธีสวดอยู่นาน ตุ่มที่คล้ายตุ่มฆ้องก็ค่อยๆปลิ้นออกมา เหมือนกับยางมะตอยอ่อนๆ ย้อยลงมาดูดกินน้ำผึ้งที่อาจารย์สมบูรณ์เตรียมไว้ในถ้วยตีนช้าง อาจารย์วรรณาก็ทำการลนเทียนชัยไปเรื่อยๆ กะกันว่าจะให้เหล็กไหลกินน้ำผึ้งจนอิ่ม จึงจะทำพีธีตัด ส่วนอาจารย์สิงห์ ท่านไม่ได้ช่วยอะไร เพราะท่านนั่งสวดมนต์ภาวนาไปเรื่อยๆ
ความที่อาจารย์สมบูรณ์ อยากได้เหล็กไหลก้อนโตๆ ท่านเลยค่อยถือถ้วยน้ำผึ้ง ที่เหล็กไหลกำลังลงมากินอยู่นั้น เดินวนสระน้ำสองรอบ เส้นเหล็กไหลก็ค่อยๆยืดตาม จนเล็กลงๆ อาจารย์วรรณาก็เลยบอกให้อาจารย์สมบูรณ์พาไปพันรอบต้นไม้ที่ปากถ้ำ เผื่อให้มันขาดเอง เพราะยิ่งยาวเท่าไหร่เส้นเหล็กไหลยิ่งเล็กลงไปเรื่อยๆ
หลวงปู่เล่าว่า ในช่วงที่ท่านได้เห็นเหล็กไหล ตอนที่อาจารย์สมบูรณ์นำมาพันรอบต้นไม้ที่ปากถ้ำ อาจารย์สมบูรณ์ ได้สั่งห้ามท่านไม่ให้อยู่ใกล้
"ท่านอาจารย์จะหวังดีก็ได้เพราะอาตมายังเป็นเณรน้อยอยู่ พรรษายังไม่แก่กล้า กลัวว่าอากเป็นอันตรายได้"
พออาจารย์สมบูรณ์พันรอบต้นไม้ในรบที่สองนี้ ปรากฏว่า เส้นเหล็กไหลเป็นประกายระยิยระยับ เส้นสายขนาดใยบัวแสงสว่างขนาดนั้นสว่างมาก เพราะพระอาทิตย์ลับเหลี่ยมเขาพอดี แสงสว่างนี้ออกมาจากเส้นใยของเหล็กไหล ที่อาจารย์สมบูรณ์ท่านพาไปพันรอบสระไว้สองรอบ
จากนั้นประมาณ 5 นาทีเห็นจะได้ ปรากฏว่าถ้ำสะเทือนสนั่นหวั่นไหวคล้ายจะถล่มทลาย พระอาจารย์ทุกองค์ต่างเข้าใจว่าเหล็กไหลกินน้ำผึ้งอิ่มแล้ว อาจารย์สมบูรณ์จึงบอกให้อาจารย์วรรณาเอาเทียนชัยที่ลนอยู่ออกจากปุ่ม พร้อมกับให้อาจารย์แก้วและอาจารย์โพธิ์เตรียมมีดหมอ ตัดตรงโคนเหล็กไหล
ทันใดนั้นเหตุการณืไม่คาดฝันก็เกิดขึ้น เสียวดังเปรียธๆครืนๆ เป็นเสียงที่อาตมาได้ยินแต่เพียงผู้เดียว จะว่าเหมือนตอนฟ้าผ่าก็คงไม่ผิด เพราะมีทั้งแสงประกายเจิดจ้า และมีเสียงแผดสนั่น จนเยื่อแก้วหูแทบชำรุด
ต้นตะแบกกับต้นตะเครียนที่เหล็กไหลพันอยู่นั้นล้มลง แต่ เหล็กไหลยังอยู่ที่เดิม สักครู่จึงค่อยหดตัวอยู่ในสภาพเดิม
หลวงปู่เล่าต่อไปว่า เมื่อเหตูการณ์อันน่าตื่นเต้นผ่านไปอย่างสงบแล้ว ท่านได้มองไปยังอาจารย์สมบูรณ์ที่กำชับกับท่านว่าไม่ให้เข้าไปใกล้ ได้กลายเป็นศพไปแล้วในสภาพแขนขาขาด ทั้งสองข้าง ส่วนศรีษะไม่ทราบว่ากระเดนไปทางไหน ส่วนอาจารย์อีกสี่องค์นั้นอยู่ในสภาพเดียวกัน คือ ไม่คอขาด ก็ตัวขาดออกจากกัน แต่ที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ ทุกศพไม่มีเลือดไหลออกมาเลย จึงเป็นอันว่า ภูเขาควายในขณะนั้น มีเหลือเพียงท่านองค์เดียวที่รอดตาย
สุดที่จนทนไหว หลวงปู่จึงวิ่งลงจากเขาในทันที แบบชนิดลืมตัวกลัวตายเลยที่เดียว และในช่วงที่ท่านวิ่งลงมานั้น ท่านได้ยินเสียงหัวเราะ ฮึๆ ฮาๆ ตามหลังมาด้วย
" พออาตมาลงมาถึงบ้านดงน้อย ก็ได้ขอไปพักอยู่ที่บ้านนายน้อย พร้อมเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้นายน้อยฟัง" ท่านกล่าว
คืนหฤโหด
ทางฝ่ายนายน้อยเมื่อได้รับฟังข่าวร้ายจาก หลวงปู่ แล้ว เขาจึงสั่งให้ชาวบ้านทุกคนซ่อมรั้วให้แข็งแรง เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และได้สั่งห้ามไม่ให้ใครออกจากบ้าน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
หลวงปู่เล่าต่อไปว่า ตกดึกคืนนั้น ปรากฏว่า เกิดเสียงระเบิดบริเวณถ้ำสระบัว สนั่นหวั่นไหว คล้ายๆเป็นการจุดพลุในเทศกาลต่างๆ เสียงระเบิดถี่ๆ ติดต่อกัน 3-4 หน จากนั้นก็หยุดหายไปประมาณ 1 ชั่วโมง จึงจะระเบิดถี่ๆขึ้นอีกครั้ง เป็นเช่นนั้นตลอดคืน
และคืนนั้น มีเหตุประหลาดเกิดขึ้นกล่าวคือ ได้มีเสียวเสือเดินเข้ามาร้องระงมอยู่ในหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวเป็นอันมาก ไม่กล้าที่จะออกนอกบ้าน คงปิดประตูนอนฟังเสียงต่างๆด้งยใจระทึก และแน่นอนนายน้อยกับชาวบ้านต่างตกอยู่ในอาการเช่นเดียวกัน เพราะไม่รู้ว่าภัยร้ายจะมาถึงตัวเมื่อไหร่
" พออาตมาลงมาถึงบ้านดงน้อย ก็ได้ขอไปพักอยู่ที่บ้านนายน้อย พร้อมเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้นายน้อยฟัง" ท่านกล่าว
คืนหฤโหด
ทางฝ่ายนายน้อยเมื่อได้รับฟังข่าวร้ายจาก หลวงปู่ แล้ว เขาจึงสั่งให้ชาวบ้านทุกคนซ่อมรั้วให้แข็งแรง เพื่อรับมือกับเหตุการณ์ไม่คาดฝัน และได้สั่งห้ามไม่ให้ใครออกจากบ้าน ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นก็ตาม
หลวงปู่เล่าต่อไปว่า ตกดึกคืนนั้น ปรากฏว่า เกิดเสียงระเบิดบริเวณถ้ำสระบัว สนั่นหวั่นไหว คล้ายๆเป็นการจุดพลุในเทศกาลต่างๆ เสียงระเบิดถี่ๆ ติดต่อกัน 3-4 หน จากนั้นก็หยุดหายไปประมาณ 1 ชั่วโมง จึงจะระเบิดถี่ๆขึ้นอีกครั้ง เป็นเช่นนั้นตลอดคืน
และคืนนั้น มีเหตุประหลาดเกิดขึ้นกล่าวคือ ได้มีเสียวเสือเดินเข้ามาร้องระงมอยู่ในหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านเกิดความหวาดกลัวเป็นอันมาก ไม่กล้าที่จะออกนอกบ้าน คงปิดประตูนอนฟังเสียงต่างๆด้งยใจระทึก และแน่นอนนายน้อยกับชาวบ้านต่างตกอยู่ในอาการเช่นเดียวกัน เพราะไม่รู้ว่าภัยร้ายจะมาถึงตัวเมื่อไหร่
ฤทธิ์เจ้าป่า
ในวันรุ่งขึ้นเมื่อสว่างแล้ว เสียวอันอึกทึกครึกโครมและเสียงเสือก็พลอยหายไปด้วย ปล่อยให้เหตุการณ์ในคืนนั้นตราตรึงอยู่ในหัวใจชาวบ้านดงน้อยและหลวงปู่มาตราบนานเท่านาน
ชาวบ้านออกมาจับกลุ่มคุยกันแซ่งแซ่ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคืน และที่กลางหมู่บ้านปรากฏว่ามีรอยเท้าเสือเหยีบย่ำเต็มไปหมด
ทุกคนลงความเห็นว่านี่เป็นการกระทำของเจ้าป่าเจ้าเขา ท่านอาจจะโกรธเพราะไปรบกวนความสงบของพวกท่าน ด้วยเหตุนี่อาตมาต้องพักค้างแรมที่บ้านนายน้อยถึง 6 วัน เพราะทุกคนต่างก็กลัวเจ้าป่าเจ้าเขาและเสือไม่กล้าพาอาตมากลับขึ้นไปยังถ้ำสระบัวอีก จนย่างเข้าวันที่ 7 นายน้อนและนายตา ทนคำอ้อนวอนของอาตมาไม่ไหว เขาจึงตัดสินใจพาไปที่ถ้ำสระบัวอีกครั้งหนึ่ง
ณ ที่ถ้ำสระบัว ปรากฏว่า สภาพบาตร เทียนชัยและข้าวหลามวางระเกะระกะอยู่เต็มถ้ำ ส่วนศพของอาจารย์ทั้ง 5 ต่างหายสาปสูญไป คงมีแต่สภาพของจีวรที่ขาดกระรุ่งกระริ่ง คงถูกเสือคาบกินเสียแล้ว ส่วนเหล็กไหลต้นเหตุนั้น ได้ยายตัวเองไปจากที่เดิม ขยับไปอยู่สูงกว่าเดิมประมาณ 1 เมตร แต่ลักาณะยังอยู่ในสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่ย้ายที่เท่านั้น
ฝ่ายนายน้อน นายตา พอมองเห็นเหล็กไหลก็ก้มลงกราบด้วยความเคารพ ส่วนอาตมาเก็บรวบรวมอัฐบริขารของท่านอาจารย์ทะง 5ซึ่งมีบาตรและย่ามนำมารวมกัน คือชิ้นไหนเป็นสมบัติของอาจารย์ก็เก็บไว้เป็นส่วนๆ
จากนั้นก็บอกลา นายน้อยกับนายตา เดินทางกลับไทยด้วยใจที่หดหู่และแสนเศร้า เพราะขณะนั้นอาตมายังเป็นสามเณรอยู่ อายุยังไม่ถึง 20 ปี แต่ต้องมาเจอกับเหตุการณ์ที่น่าสยดสยอง ดูแล้วช่างน่ากลัวจริงๆ หลวงปู่กล่าวอย่างอ่อนใจ
ในวันรุ่งขึ้นเมื่อสว่างแล้ว เสียวอันอึกทึกครึกโครมและเสียงเสือก็พลอยหายไปด้วย ปล่อยให้เหตุการณ์ในคืนนั้นตราตรึงอยู่ในหัวใจชาวบ้านดงน้อยและหลวงปู่มาตราบนานเท่านาน
ชาวบ้านออกมาจับกลุ่มคุยกันแซ่งแซ่ถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อคืน และที่กลางหมู่บ้านปรากฏว่ามีรอยเท้าเสือเหยีบย่ำเต็มไปหมด
ทุกคนลงความเห็นว่านี่เป็นการกระทำของเจ้าป่าเจ้าเขา ท่านอาจจะโกรธเพราะไปรบกวนความสงบของพวกท่าน ด้วยเหตุนี่อาตมาต้องพักค้างแรมที่บ้านนายน้อยถึง 6 วัน เพราะทุกคนต่างก็กลัวเจ้าป่าเจ้าเขาและเสือไม่กล้าพาอาตมากลับขึ้นไปยังถ้ำสระบัวอีก จนย่างเข้าวันที่ 7 นายน้อนและนายตา ทนคำอ้อนวอนของอาตมาไม่ไหว เขาจึงตัดสินใจพาไปที่ถ้ำสระบัวอีกครั้งหนึ่ง
ณ ที่ถ้ำสระบัว ปรากฏว่า สภาพบาตร เทียนชัยและข้าวหลามวางระเกะระกะอยู่เต็มถ้ำ ส่วนศพของอาจารย์ทั้ง 5 ต่างหายสาปสูญไป คงมีแต่สภาพของจีวรที่ขาดกระรุ่งกระริ่ง คงถูกเสือคาบกินเสียแล้ว ส่วนเหล็กไหลต้นเหตุนั้น ได้ยายตัวเองไปจากที่เดิม ขยับไปอยู่สูงกว่าเดิมประมาณ 1 เมตร แต่ลักาณะยังอยู่ในสภาพเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เพียงแต่ย้ายที่เท่านั้น
ฝ่ายนายน้อน นายตา พอมองเห็นเหล็กไหลก็ก้มลงกราบด้วยความเคารพ ส่วนอาตมาเก็บรวบรวมอัฐบริขารของท่านอาจารย์ทะง 5ซึ่งมีบาตรและย่ามนำมารวมกัน คือชิ้นไหนเป็นสมบัติของอาจารย์ก็เก็บไว้เป็นส่วนๆ
จากนั้นก็บอกลา นายน้อยกับนายตา เดินทางกลับไทยด้วยใจที่หดหู่และแสนเศร้า เพราะขณะนั้นอาตมายังเป็นสามเณรอยู่ อายุยังไม่ถึง 20 ปี แต่ต้องมาเจอกับเหตุการณ์ที่น่าสยดสยอง ดูแล้วช่างน่ากลัวจริงๆ หลวงปู่กล่าวอย่างอ่อนใจ
ขอตัดความเล่าโดยย่อว่า เมื่อหลวงปู่กลับสู่เมื่อไทย ก็ได้นำเครื่องอัฐบริขารไปคืนแก่ พ่อ แม่และครอบครัว ของพระอาจารย์ทั้ง 5 ท่านใดที่ไม่มีครอบครับก็ไปคืนที่วัดของท่านนั้นๆ แล้วออก เดินทาง เพื่อเรียนบาลีต่อไป
มีอยู่คราวหนึ่ง หลวงปู่เล่าว่า "อาตมาเดินไปนั่งอยู่ในป่า นั่งอยู่อย่างนั้นจนจิตสงบมาก สงบจนถึงขั้นไม่รับรู้อะไร ไม่ว่าฝนจะตกหรือแดดจะออก ไม่รับรู้ทั้งนั้น"
การที่อาตมาทำได้อย่างนี้ พิจารณาดูแล้วเห็นว่า เป็นผลสืบเนื่องที่ได้ทำมานาน ขอบอกตามตรงว่า อาตมารักการปฏิบัติสมาธิมาแต่เด็กๆ คือมีอุปนิสัยน้อมมาทางนี้แต่เล็กแต่น้อย เคร่งครัดอยู่ในศีล
"จำได้ว่าเมื่อรู้ความก็ไม่เคยกินสิ่งมีชีวิต โยมแม่เข้าใจดี ก็เลยปลูกผักไว้ให้เป็นแปลงๆเลย อาตมาก็ถือข้าวเหนียวไปนั่งกินที่แปลงผัก จนโยมแม่ล้อว่า ควายกินหญ้า
เหตุที่ไม่กินสัตว์เป็นอาหารนั้น เพราะรู้สึกรังเกียจ เห็นแล้วจะคลื่นไส้เอานั่นเอง"
หลวงปู่ เล่าต่อว่า ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดกลาง ก็ได้ทราบก็ข่าวว่า
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้มาปักกลดธุดงค์อยู่ที่ป่าช้าข้างๆวัดกลาง
ระยะนั้น อาตมาเป็นเณรใหญ่แล้ว แต่ยังอายุไม่ครบบวชพระ ได้มาปรนนิบัติหลวงปู่มั่น จนท่านเกิดความเมตตา ได้นำพาเดินธุดงค์อีกครั้ง ในชีวิตของอาตมาก็นับว่ามีโชคดีอยู่ตรงที่ได้ไปอยู่ปรนนิบัติและปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ นี่แหละ
หลวงปู่จันทร์ดี ท่านกล่าวอย่างยินดี พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า
" เคยไปอยู่เขาพระวิหารกับพระอาจารย์มั่น นอกจากนั้นท่านยังพาไปอยู่ที่อื่นๆ กับท่านทั้งสองอีก คือ ที่เขาพนมรุ้ง ถ้ำขาม ถ้ำส่องดาวและไปพม่าด้วยกันก็เคย เวลาไปอยู่กับท่านนั้น ก็ถือเป็นครูบาอาจารย์ปฏิบัติบำรุงท่านเป็นอย่างดี"
พระนักปฏิบัติสมัยก่อน นิยมเดินธุดงค์ การเดินธุดงค์สมัยนั้นเป็นการเดินดงจริงๆ เพราะไม่มีถนน ไม่มีทางเดินเหมือนปัจจุบัน ต้องเดินไปตามทางที่สัตว์ป่าเดิน ทั้งป่าก็ทึบ ขนาดเดินเข้าปในป่าแล้วจะไม่เห็นแสงตะวันเลย
หลวงปู่เล่าต่อไปว่า ในช่วงนั้น ในช่วงนั้นหลวงปู่มั่นท่านพาธุดงค์ไปถึงถ้ำขาม อยู่ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวักสกลนคร ณที่นี้ ก็ได้พบกับ หลวงปู่ชม,หลวงปู่เสาร์ และ
หลวงปู่ขาว
ที่ถ้ำขามแห่งนี้ หลวงปู่ชม,หลวงปู่เสาร์ และ หลวงปู่ขาว ทุกองค์ต่างก็รอหลวงปู่มั่น อยู่ สาเหตุก็คือต้องการไปธุดงค์ที่ฝั่งลาวด้วยกันนั่นเอง
จากนั้นก็แวะไปเยี่ยม พระมหาปาน เจ้าอาวาสวัดโคกเรือในฝั่งลาว เพราะท่านได้ไปมาหาสู่กันบ่อยๆ พอไปถึงโคกเรือในฝั่งลาว ก็ได้รับฟังคำบอกเล่าจาก พระมหาปานว่า "มีคนแตกตื่นเหล็กไหลที่ถ้ำสระบัว ในเขตภูเขาควาย และทำอันตรายผู้คนมามากต่อมากแล้ว สำหรับผู้ที่ไปตัดเอาเหล็กไหล"
เหล็กไหลที่ถ้ำสระบัว บนภูเขาควายนั้น หลวงปู่จันทร์ดี ท่านได้เคยไปเห็นแล้วครั้งหนึ่ง สมัยเป็นเณรน้อนที่ไปกับท่านอาจารย์ทั้ง 5
บัดนี้ หลวงปู่จันทร์ดี ได้กลับมาถิ่นเดิมอีกครั้ง แต่ในการมาครั้งนี้ผิดกับครั้งก่อน เพราะมีพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานมาด้วย และท่านมาเพื่อปราบสิ่งลี้ลับบนภูเขาควายโดยเฉพาะ
มีอยู่คราวหนึ่ง หลวงปู่เล่าว่า "อาตมาเดินไปนั่งอยู่ในป่า นั่งอยู่อย่างนั้นจนจิตสงบมาก สงบจนถึงขั้นไม่รับรู้อะไร ไม่ว่าฝนจะตกหรือแดดจะออก ไม่รับรู้ทั้งนั้น"
การที่อาตมาทำได้อย่างนี้ พิจารณาดูแล้วเห็นว่า เป็นผลสืบเนื่องที่ได้ทำมานาน ขอบอกตามตรงว่า อาตมารักการปฏิบัติสมาธิมาแต่เด็กๆ คือมีอุปนิสัยน้อมมาทางนี้แต่เล็กแต่น้อย เคร่งครัดอยู่ในศีล
"จำได้ว่าเมื่อรู้ความก็ไม่เคยกินสิ่งมีชีวิต โยมแม่เข้าใจดี ก็เลยปลูกผักไว้ให้เป็นแปลงๆเลย อาตมาก็ถือข้าวเหนียวไปนั่งกินที่แปลงผัก จนโยมแม่ล้อว่า ควายกินหญ้า
เหตุที่ไม่กินสัตว์เป็นอาหารนั้น เพราะรู้สึกรังเกียจ เห็นแล้วจะคลื่นไส้เอานั่นเอง"
หลวงปู่ เล่าต่อว่า ขณะที่ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดกลาง ก็ได้ทราบก็ข่าวว่า
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ได้มาปักกลดธุดงค์อยู่ที่ป่าช้าข้างๆวัดกลาง
ระยะนั้น อาตมาเป็นเณรใหญ่แล้ว แต่ยังอายุไม่ครบบวชพระ ได้มาปรนนิบัติหลวงปู่มั่น จนท่านเกิดความเมตตา ได้นำพาเดินธุดงค์อีกครั้ง ในชีวิตของอาตมาก็นับว่ามีโชคดีอยู่ตรงที่ได้ไปอยู่ปรนนิบัติและปฏิบัติธรรมกับ หลวงปู่มั่น หลวงปู่เสาร์ นี่แหละ
หลวงปู่จันทร์ดี ท่านกล่าวอย่างยินดี พร้อมกับเล่าให้ฟังว่า
" เคยไปอยู่เขาพระวิหารกับพระอาจารย์มั่น นอกจากนั้นท่านยังพาไปอยู่ที่อื่นๆ กับท่านทั้งสองอีก คือ ที่เขาพนมรุ้ง ถ้ำขาม ถ้ำส่องดาวและไปพม่าด้วยกันก็เคย เวลาไปอยู่กับท่านนั้น ก็ถือเป็นครูบาอาจารย์ปฏิบัติบำรุงท่านเป็นอย่างดี"
พระนักปฏิบัติสมัยก่อน นิยมเดินธุดงค์ การเดินธุดงค์สมัยนั้นเป็นการเดินดงจริงๆ เพราะไม่มีถนน ไม่มีทางเดินเหมือนปัจจุบัน ต้องเดินไปตามทางที่สัตว์ป่าเดิน ทั้งป่าก็ทึบ ขนาดเดินเข้าปในป่าแล้วจะไม่เห็นแสงตะวันเลย
หลวงปู่เล่าต่อไปว่า ในช่วงนั้น ในช่วงนั้นหลวงปู่มั่นท่านพาธุดงค์ไปถึงถ้ำขาม อยู่ในเขตอำเภอพรรณานิคม จังหวักสกลนคร ณที่นี้ ก็ได้พบกับ หลวงปู่ชม,หลวงปู่เสาร์ และ
หลวงปู่ขาว
ที่ถ้ำขามแห่งนี้ หลวงปู่ชม,หลวงปู่เสาร์ และ หลวงปู่ขาว ทุกองค์ต่างก็รอหลวงปู่มั่น อยู่ สาเหตุก็คือต้องการไปธุดงค์ที่ฝั่งลาวด้วยกันนั่นเอง
จากนั้นก็แวะไปเยี่ยม พระมหาปาน เจ้าอาวาสวัดโคกเรือในฝั่งลาว เพราะท่านได้ไปมาหาสู่กันบ่อยๆ พอไปถึงโคกเรือในฝั่งลาว ก็ได้รับฟังคำบอกเล่าจาก พระมหาปานว่า "มีคนแตกตื่นเหล็กไหลที่ถ้ำสระบัว ในเขตภูเขาควาย และทำอันตรายผู้คนมามากต่อมากแล้ว สำหรับผู้ที่ไปตัดเอาเหล็กไหล"
เหล็กไหลที่ถ้ำสระบัว บนภูเขาควายนั้น หลวงปู่จันทร์ดี ท่านได้เคยไปเห็นแล้วครั้งหนึ่ง สมัยเป็นเณรน้อนที่ไปกับท่านอาจารย์ทั้ง 5
บัดนี้ หลวงปู่จันทร์ดี ได้กลับมาถิ่นเดิมอีกครั้ง แต่ในการมาครั้งนี้ผิดกับครั้งก่อน เพราะมีพระอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนากรรมฐานมาด้วย และท่านมาเพื่อปราบสิ่งลี้ลับบนภูเขาควายโดยเฉพาะ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น