ท่านเสินซิ่วหัวหน้าศิษย์จึงใช้การศึกษาสะท้อนให้เห็นเป็นเพียงความรู้แต่มิได้ไหลออกมาจาก "ธรรมญาณ" เพราะฉะนั้นจึงจับจ้องว้าวุ่นใจในการเขียนโศลกถวายต่อพระอาจารย์หงเห ยิ่น ด้วยไม่แน่ใจในความรู้ของตนเอง เมื่อเขียนโศลกเสร็จแล้วไม่มั่นใจจึงไม่กล้านำไปถวายพระอาจารย์ได้แต่เดินกลับไปกลับมาเสียเวลาไป 4 วันเดินเสีย 13 เที่ยว ในที่สุดก็ตัดสินใจ เขียนเอาไว้บนฝาผนังช่องทางเดินทางทิศใต้ซึ่งพระอาจารย์เดินผ่านไปมาจะได้หยั่งทราบถึงปัญญาญาณที่ตนเองได้บรรลุ ข้อความแห่งโศลกนั้นมีว่า "กายคือต้นโพธิ์ จิตคือกระจกเงาใส หมั่นเช็ดอยู่ทุกโมงยาม จึงไม่มีฝุ่นละอองลงจับ" เมื่อเขียนเสร็จแล้ว เสินซิ่วก็หามีความสุขแต่ประการใดไม่ มีแต่ความปริวิตกด้วยหวั่นเกรงว่าได้สะท้อนความไม่รู้แจ้งให้ปรากฎออกไป แต่พระอาจารย์หงเหยิ่นรู้อยู่ก่อนแล้วว่า เสินซิ่วยังไม่ได้รับรสชาติแห่งธรรมญาณของตน จึงกล่าวแก่ หลูเจิน จิตกรเอกแห่งราชสำนักซึ่งเขียนภาพต่างๆ จากลังกาวตารสูตรและชาติวงศ์ ของพระสังฆปริณายกทั้ง 5 องค์ว่า "เสียใจที่รบกวนท่าน บัดนี้ผนังเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเขียนภาพเพราะสูตรนี้ได้กล่าวไว้ว่า สรรพสิ่งอันมีรูป หรือปรากฎกริยาอาการล้วนเป็นอนิจจัง และมายา จึงควรปล่อยโศลกนี้ไว้บนฝาผนังเพื่อให้มหาชนได้ท่องบ่น และถ้าปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อความที่สอนไว้ เขาก็จะพ้นทุกข์ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ อานิสงส์ของผู้ปฏิบัติตามได้ รับนั้นมีมากนัก" ความหมายแห่งคำพูดของพระอาจารย์หงเหยิ่นพิจารณาโศลกบทนี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า สภาวะที่ปรากฎ "ความมี" ย่อมจะ "ไม่มี" ในที่สุด ต้นโพธิ์ย่อม เสื่อมสลายไปตามกาลเวลา หรือแม้แต่จิตก็เกิดดับไม่แน่นอน การหมั่นเช็ดกระจกจึงเปรียบเสมือนการทำความดีและขจัดอาสวะกิเลส ดังนั้นทั้งกายและจิต จึงเป็นสภาวะแห่งอนิจจัง ย่อม ไม่ใช่ภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันแท้จริง
ในเที่ยงคืนนั้นเอง พระสังฆปริณายกหงเหยิ่น จึงเรียกเสินซิ่วเข้าไปรับทราบถึงผลแห่งการเขียนโศลกนั้นว่า "โศลกนี้แสดงว่าเจ้ามิได้รู้แจ้งใน "ธรรมญาณ" เจ้ามาถึงประตูแห่งการ บรรลุธรรมแล้ว แต่มิได้ก้าวข้ามธรณีประตู การแสวงหาหนทางแห่งการตรัสรู้อันสูงสุดด้วยความเข้าใจที่แสดงออกมานั้น ยากที่จะสำเร็จได้" ความหมายอันแท้จริงคือ การติดในรูป ลักษณ์ พระอาจารย์หงเหยิ่นได้อธิบายด้วยว่า "การบรรลุ อนุตตรสัมโพธิ์ได้ ต้องรู้แจ้งด้วยใจเองใน "ธรรมญาณ" ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสร้างขึ้นได้ทำลายก็ไม่ได้ ชั่วขณะจิตเดียวผู้นั้น เห็นธรรมญาณก็เป็นอิสระจากการถูกขังตลอดกาล พ้นจากความหลง และไม่ว่าสภาวะรอบตัวเป็นเช่นไร ใจของตนเองก็อยู่ในสภาพของ "ธรรมญาณ" สถานะเช่นนี้แหละคือตัว สัจธรรมแท้ เป็นการเห็น "ธรรมญาณ" อันเป็นการตรัสรู้นั่นเอง"
เสินซิ่วได้ฟังแล้ว จึงถึงแก่อาการงงงวยนอนนั่งไม่เป็นสุข การที่ภาวะจิตยังตกอยู่ในรูปและนามย่อมหวั่นไหว เพราะยังยึดอยู่ในความดีและความชั่ว หรือ "มี" กับ "ไม่มี" จึงเห็นได้ ทั่วไปในหมู่ของพุทธศาสนิกชนติดอยู่กับการสร้างบุญจึงกลายเป็นเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งกันได้เสมอ สร้างบุญต้องได้หน้าตามีชื่อเสียงทำให้เกิดความฟูใจ รื่นเริงใจเมื่อเปลี่ยนแปลงไป ตามกฎของอนิจจัง ความทุกข์จึงปรากฎขึ้นแทนที่ เพราะไม่มีและไม่ได้บุญตามที่ปรารถนา ส่วนท่านฮุ่ยเหนิง เมื่อได้ยินโศลกนี้ก็ได้ทันทีว่าเป็นเพียงโศลกที่ยังติดข้องอยู่ในรูปลักษณ์ แม้ ว่าตำข้าวอยู่ในครัวถึง 8 เดือน โดยไม่ได้รับคำอธิบายใดๆ จากพระอาจารย์หงเหยิ่นเลย จึงขอให้เด็กหนุ่มคนหนึ่งพาไปยังช่องกำแพงนั้นและพบกับเสมียนแห่งตำบลเจียงโจวชื่อว่าจาง ยื่อย่ง ให้ช่วยอ่านโศลกให้ฟัง เพราะท่านฮุ่ยเหนิงไม่รู้จักหนังสือ เมื่อเสมียนผู้นี้ได้ฟังว่าท่านฮุ่ยเหนิงมีโศลกเหมือนกันก็อุทานในเชิงดูถูกภูมิปัญญาว่า "ประหลาดแท้ ท่านก็มาแต่งโศลกกับ เขาด้วย"
คำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงเป็นสัจธรรมจนถึงบัดนี้ว่า "ถ้าเป็นผู้แสวงหาบรรลุธรรม อย่าดูถูกคนที่เริ่มต้น คนที่จัดว่าเป็นคนชั้นต่ำก็อาจมีปฏิภาณสูงได้ ส่วนคนชั้นสูงก็ปรากฎว่า ขาดสติปัญญาอยู่บ่อยๆ ถ้าท่านดูถูกคนจึงจัดว่าทำบาปหนัก" เราจึงไม่อาจแบ่งคนหรือตัดสินใครๆ ได้ที่รูปลักษณ์ซึ่งแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ "ธรรมญาณ" ซึ่งมีศักยภาพ เหมือนกันทุกคนและเท่าเทียมกัน
เสินซิ่วได้ฟังแล้ว จึงถึงแก่อาการงงงวยนอนนั่งไม่เป็นสุข การที่ภาวะจิตยังตกอยู่ในรูปและนามย่อมหวั่นไหว เพราะยังยึดอยู่ในความดีและความชั่ว หรือ "มี" กับ "ไม่มี" จึงเห็นได้ ทั่วไปในหมู่ของพุทธศาสนิกชนติดอยู่กับการสร้างบุญจึงกลายเป็นเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งกันได้เสมอ สร้างบุญต้องได้หน้าตามีชื่อเสียงทำให้เกิดความฟูใจ รื่นเริงใจเมื่อเปลี่ยนแปลงไป ตามกฎของอนิจจัง ความทุกข์จึงปรากฎขึ้นแทนที่ เพราะไม่มีและไม่ได้บุญตามที่ปรารถนา ส่วนท่านฮุ่ยเหนิง เมื่อได้ยินโศลกนี้ก็ได้ทันทีว่าเป็นเพียงโศลกที่ยังติดข้องอยู่ในรูปลักษณ์ แม้ ว่าตำข้าวอยู่ในครัวถึง 8 เดือน โดยไม่ได้รับคำอธิบายใดๆ จากพระอาจารย์หงเหยิ่นเลย จึงขอให้เด็กหนุ่มคนหนึ่งพาไปยังช่องกำแพงนั้นและพบกับเสมียนแห่งตำบลเจียงโจวชื่อว่าจาง ยื่อย่ง ให้ช่วยอ่านโศลกให้ฟัง เพราะท่านฮุ่ยเหนิงไม่รู้จักหนังสือ เมื่อเสมียนผู้นี้ได้ฟังว่าท่านฮุ่ยเหนิงมีโศลกเหมือนกันก็อุทานในเชิงดูถูกภูมิปัญญาว่า "ประหลาดแท้ ท่านก็มาแต่งโศลกกับ เขาด้วย"
คำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงเป็นสัจธรรมจนถึงบัดนี้ว่า "ถ้าเป็นผู้แสวงหาบรรลุธรรม อย่าดูถูกคนที่เริ่มต้น คนที่จัดว่าเป็นคนชั้นต่ำก็อาจมีปฏิภาณสูงได้ ส่วนคนชั้นสูงก็ปรากฎว่า ขาดสติปัญญาอยู่บ่อยๆ ถ้าท่านดูถูกคนจึงจัดว่าทำบาปหนัก" เราจึงไม่อาจแบ่งคนหรือตัดสินใครๆ ได้ที่รูปลักษณ์ซึ่งแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ "ธรรมญาณ" ซึ่งมีศักยภาพ เหมือนกันทุกคนและเท่าเทียมกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น