วันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

ผลกระทบจากการชนปะทะของวัตถุใกล้โลก

กรณีผลกระทบจากการชนปะทะของวัตถุใกล้โลก
เช่น อุกกาบาต ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง (ที่โคจรเข้าใกล้เฉียดโลก)
มีโอกาสจะปรากฏ 100 % สามารถทราบก่อนจาก
การแจ้งเตือนล่วงหน้าระยะ 10-1,000 ปี


ระบบสุริยะ มีวัตถุประเภท
อุกกาบาต ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ฯลฯ เป็นจำนวน
มากกว่า 1,000,000 วัตถุ เรียกว่าวัตถุใกล้โลก
(Near earth objects) บางกลุ่ม
มีเส้นทางวิ่งตัดผ่านวงโคจรโลก มีโอกาสวิ่งชนปะทะกับโลกเหมือนลูกระเบิด

ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของโลกนั้นเชื่อ ว่ามีการเกิดเหตุการณ์ ตั้งแต่ดึกดำบรรพ์
กำเนิดโลก มีการชนปะทะแล้วมากกว่า 2,000 ครั้ง
 
 
อุกกาบาตขนาดใหญ่ ปะทะโลก จะมีผลต่อการโคจรและแกนโลก
 
 
ตำแหน่งวัตถุที่อันตราย และไม่อันตราย
 
 
มีวัตถุใกล้โลก (NEO) 100,000 – 1,000,000 วัตถุที่เรายังไม่ได้สำรวจ
จุดสีเขียว   : ขณะนี้ยังไม่อยู่ในตำแหน่งวงโคจรที่อันตรายต่อโลก
จุดสีเหลือง : มีตำแหน่งใกล้โลก ที่เราสำรวจแล้ว 300 วัตถุ จาก 1,500 วัตถุ                   ที่ไม่อยู่ในวงโคจรอันตรายต่อโลก
จุดสีแดง    : ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่ม Apollo และ Aten มีความเป็นไปได้ที่จะโคจร
                  เข้าใกล้โลกมากในอนาคต
 
 
แผนที่แสดงบริเวณที่พบ หลุมอุกกาบาต ซึ่งได้สำรวจตั้งแต่ ปี 1950 เป็นต้นมา
จำนวน 150 แห่งที่มีข้อมูลสำหรับศึกษาเรื่องนี้
 
 
หลุมอุกกาบาต Chicxulub ที่ Yucatan Peninsula of Mexico
ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางหลุม 200 กม. มีขนาดเท่าเมือง Austin ถึงเมือง Houston
 
 
การชนปะทะครั้งใหญ่ บริเวณรัฐอะริโซ่น่า อเมริกาเมื่อ 50,000 ปีมาแล้ว ขนาด
อุกกาบาต 150 เมตร น้ำหนัก 8.4 ตัน และที่ Yucatan อุกกาบาต ขนาด 10 กม.
เมื่อ 65 ล้านปี ถือว่าเป็นการทำลายล้างครั้งใหญ่ที่สุด ชีวิตต่างๆทั้งหมดและปิด
ฉากยุคไดโนเสาร์

จากการประเมินของ สถาบันอวกาศแห่งแคนาดา (Canadian Space Agency)
มีข้อมูลว่าอุกกาบาต ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 กม.ปะทะโลกจะได้ยินเสียง
ระเบิดดังไปไกลว่า 1,000 กม.สามารถสร้างความกดดันสะท้อนคลื่นเป็นช่วงๆ
(Pressure wave) ไปได้รอบโลกมากกว่า 1 ครั้ง

ล่าสุดเกิดขึ้น ค.ศ. 1908 อุกกาบาต ขนาด 30 เมตรพุ่งปะทะ เขตไซบีเรียเหนือ
บริเวณทังกัสกา (Tunguka) ก่อนชนโลกเกิด การระเบิดเหนือพื้นดิน ประมาณ
6-10 กม.เปรียบเทียบแรงระเบิดเท่ากับ 10-15 เม็กกะตัน ระเบิด TNT

ภายหลังได้สำรวจ ความเสียหายเป็นพื้นที่ 2,000 ตร.กม. ต้นไม้เสียหายทั้งสิ้น
60 ล้านต้น แต่หากไม่มีการระเบิดกลางอากาศ ก่อนพุ่งชนโลก คาดว่าอาจต้อง
ความเสียหาย มากกว่านี้หลายเท่า

ทุกวันนี้ เรายังติดตามผลกระทบกรณี
Tunguka นี้อย่างต่อเนื่อง ต้นไม้บริเวณนั้น
เจริญเติบโตช้ากว่าปกติ ใต้ผิวดินมีการเปลี่ยนแปลงแร่ธาตุและสารประกอบเคมี
 
 
บริเวณรัฐอะริโซ่น่า อเมริกา เมื่อ 50,000 ปี ขนาดอุกกาบาต 150 เมตร
 
 
บริเวณทังกัสกา ไซบีเรียตอนเหนือ เมื่อ ค.ศ. 1908 (ภาพเล็กพื้นที่ในปัจจุบันนี้)
 
 
หลุมอุกกาบาต Manicouagan กว้างประมาณ 100 กม. เมื่อ 200 ล้านปี ที่เมือง Labrador
 
 โอกาสความเป็นไปได้ ในการเสียชีวิตของชาวอเมริกา
 ฆาตกรรม1 ใน 300 คน
 เพลิงไหม้1 ใน 800 คน
 อาวุธปืนขนาดเล็ก1 ใน 2,500 คน
 อุกกาบาต-ดาวหาง1 ใน 20,000 คน
 เครื่องบินตก1 ใน 20,000 คน
 อุทกภัย 1 ใน 30,000 คน
 พายุโทนาโด1 ใน 60,000 คน
 แมลงมีพิษต่อย1 ใน 100,000 คน
 อาหารมีสารพิษ1 ใน 300,000 คน
 
ข้อมูลจาก Odds of Dying in the United States from Selected Causes
Source: D. Morrison (1992)
 
 
NASA เริ่มสำรวจวัตถุใกล้โลกตั้งแต่ ค.ศ.1996 ยานสำรวจ Muses-C ออกแบบสำหรับ
ลงจอดบน อุกกาบาต และดาวเคราะห์น้อย เพื่อศึกษาชนิดขององค์ประกอบภายใน
 
 
ความเป็นไปได้ :

มีโอกาสเกิด 100 % สามารถทราบก่อนล่วงหน้า 10 -1,000 ปี ด้วยการคำนวณ
วงโคจรด้านดาราศาสตร์ ปัจจุบันมีวัตถุใกล้โลก ที่มีโอกาสพุ่งชนโลกประมาณ
200 วัตถุ แต่เรายังไม่สามารถบอกได้ชัดเจน จากการคำนวณวงโคจร ในขณะนี้ เพราะวัตถุเหล่านั้นมีขนาดเล็ก วงโคจรไม่เสถียร อาจถูกกระแสแรงดึงดูดจาก
ดวงอาทิตย์ ทำให้เปลี่ยนทิศทางเมื่อเข้าใกล้โลกได้ จึงมีข้อจำกัดในการแจ้ง
เตือนมิฉะนั้นประชากรโลกจะหวาดวิตกได้

อย่างไรก็ตามไม่จำเป็นต้องวิตกในเรื่องนี้
การประกาศอันตรายจากวัตถุใกล้โลก
อย่างเป็นทางการ เพื่อให้ประชากรโลกทราบ มีขั้นตอนและขบวนการตรวจสอบ
อย่างรัดกุม โดยมีระดับการเตือนที่วางเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก

หากขั้นภัยพิบัติร้ายแรง รัฐบาลจะเป็นผู้ประกาศเท่านั้น ส่วนที่มักมีข่าวเรื่องวัตถุ
ใกล้โลก นักดาราศาสตร์หรือผู้เชี่ยวเท่านั้น สามารถประกาศลักษณะการแจ้งข่าว

มักมีรายงานโอกาสความเป็นไปได้ ของวัตถุที่จะชนปะทะโลก ทุก 100,000 ปี
หรือทุก 200,000 ปี ตัวเลขดังกล่าวเป็นเพียงใช้หลักคำนวณทางสถิต ซึ่งอาจเป็น
ไปได้หรือเป็นไปไม่ได้เท่าๆกัน ในหลักการปัจจุบันเรามีเครื่องมือที่มีความแม่นยำ
เพียงพอที่จะตรวจสอบได้ ซึ่งอาจจะแก้ไขวิกฤตได้ทันเวลาในระยะ 10 - 20 ปี
ส่วนการพยากรณ์เขตชนปะทะ อาจจะเป็นเรื่องยากในขณะนี้ มักคาดว่าตกลงใน
มหาสุมทรมากกว่าพื้นดิน เพราะโลกมีพื้นน้ำมากกว่าพื้นดิน แต่ไม่แน่นอน

การแก้ไขเหตุการณ์ :

อาจจะแก้ไขเหตุการณ์ได้ โดยการส่งจรวด ไปผลักดันวงโคจร ของวัตถุนั้นๆใน อนาคต แต่ไม่สามารถใช้วิธียิงทำลาย ด้วยขีปนาวุธได้พราะหากแตกออกเป็น
ชิ้นเล็กอาจยิ่งมีโอกาสเปลี่ยนวงโคจร พุ่งชนปะทะโลกได้มากขึ้น

ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และสังคม :

ปัจจุบันสถาบันตรวจจับวัตถุใกล้โลกหลายแห่ง โดยมีทั้งนักดาราศาสตร์ และ สถาบันดาราศาสตร์ทั่วโลกร่วมมือ และรายงานการเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น